Blog > ขายของออนไลน์ > เปรียบเทียบชัดๆ Shopee กับ Lazada อะไรดีกว่ากัน update 2567

เปรียบเทียบชัดๆ Shopee กับ Lazada อะไรดีกว่ากัน update 2567

Khun BigT 24 พ.ค. 2024 03:32

พูดถึงการช้อปปิ้งออนไลน์ ลูกค้าหลาย ๆ คนอาจจะนึกถึง shopee กับ lazada ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อของออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย ส่วนพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เองก็คงอยากจะทราบว่าระหว่าง Lazada กับ Shopee ขายของที่ไหน ดีกว่ากัน? ในบทความนี้เราจะมาตอบคำถามว่า shopee VS lazada อะไรดีกว่ากัน? มาดูการเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ปี 2567 กันแบบชัด ๆ พร้อมแนะนำตัวช่วยที่ทำให้แม่ค้าขายของข้ามแพลตฟอร์มได้ง่ายขึ้น ติดตามพร้อมกันได้เลยที่นี่!
 

ทำไมแม่ค้าออนไลน์ควรขายของบน Market Place?

การขายของบน Market Place เป็นแหล่งรวมสินค้าหลากหลายชนิด หลากหลายรูปแบบที่อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าได้ทำการเลือกซื้อสินค้าได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น เริ่มต้นตั้งแต่การเลือกร้านค้า การเลือกซื้อสินค้า การชำระเงิน การจัดส่งและบริการหลังการขาย โดยเป็นช่องทางการขายสินค้าแบบออนไลน์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ อย่างที่เรารู้จักกันดี เช่น Shopee, Lazada, Amazon เป็นต้น

การขายของบน Market Place จะช่วยให้การทำธุรกิจออนไลน์ทุกระดับได้รับโอกาสในการขายมากขึ้น สามารถทำการขยายแบรนด์และช่องทางการขายได้กว้างขวางขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยที่ไม่ต้องทำการกักตุนสินค้าเป็นจำนวนมาก ๆ ทำการเปิดหน้าร้าน หรือเพิ่มสาขาอีก ทุกกระบวนการขายเป็นไปอย่างง่ายดายเพียงแค่ไม่กี่คลิกเท่านั้น รวมทั้งสามารถทำการโฆษณาสินค้าเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กลุ่มใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย


เหตุผลที่คนชอบซื้อของบน Market place?

การซื้อของบน Market Place มีความสะดวกสบายมากกว่ารูปแบบการขายแบบเก่า ๆ ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆ ได้ในที่เดียวกัน หลังจากชำระเงินแบบอัตโนมัติแล้วสินค้าก็มาส่งถึงหน้าบ้านภายในเวลาไม่กี่วันเท่านั้น นอกจากนี้แพทฟอร์มต่าง ๆ ก็ยังมีโปรโมชั่น หรือส่วนลดต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมอีกด้วย เรียกได้ว่าประหยัดทั้งเวลาในการเดินทางไปซื้อสินค้า ประหยัดทั้งเงิน ง่ายไปหมด ทั้งข้อมูลสินค้า ไซส์ จำนวนสต็อก ตรวจสอบสถานะสินค้าและรีวิว แชทกับร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งการมีบริการหลังการขายที่ช่วยเคลมสินค้าชำรุด หรือเสียหายในกรณีต่าง ๆ อีกด้วย
 

แม่ค้าต้องรู้ เปรียบเทียบ Shopee กับ Lazada ขายที่ไหนดีกว่ากัน?

Shopee VS Lazada

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่มักจะสงสัยว่า Shopee กับ Lazada อะไรดีกว่ากัน 2567? เรามาดูการเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ ของทั้ง 2 แบบฟอร์มกันว่ามีข้อดี-ข้อเสียยังไง
 

1.ขั้นตอนการสมัคร เปิดร้านใหม่

Shopee

Lazada

-    ทำการสมัครสมาชิกบน Shopee บัญชีปกติเพื่อเข้าใช้งาน Seller Center ได้ในที่เดียวกัน หลังจากมีร้านค้าแล้วจึงทำการตั้งค่าร้านค้า ตั้งค่าบัญชีธนาคาร ตั้งค่าการจัดส่งตามลำดับ

-    ทำการลงข้อมูลเพื่อขายสินค้าด้วยการกรอกชื่อสินค้า รูปภาพ รายละเอียด หมวดหมู่ ราคา จำนวนสต็อก ฯลฯ

-    ทำการสมัครสมาชิกบนแอป Lazada Seller Center ด้วยการกรอกเบอร์โทรศัพท์ อีเมลที่อยู่ ส่งเอกสารยืนยันตัวตน

-    รอการยืนยันตัวตนประมาณ 3-5 วัน จากทาง Lazada เพื่อ Verify ร้านค้า

-    สามารถลงขายสินค้าอย่างน้อย 1 ชนิดได้โดยไม่ต้องรอการ Verify ร้านค้า

 

ทั้งสองแพลตฟอร์มสามารถทำการสมัครสมาชิกได้ง่ายเหมือนกัน ร้านค้าบน Shopee อาจใช้เวลาประมาณหนึ่งทำการตั้งค่าร้านค้าก่อนลงขายสินค้าแต่สามารถใช้บัญชีปกติสมัครร้านค้าได้เลย ส่วนร้านค้าบน Lazada ต้องดาวน์โหลดแอปสำหรับร้านค้ามาใช้แยกจากบัญชีปกติ
 

2.ค่า GP หรือค่าคอมมิชชั่น

Shopee

Lazada

-    ไม่คิดค่าคอมมิชชั่นจากการขายสินค้า

-    ค่าธรรมเนียมการขายสินค้าในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics items) 3% ส่วนสินค้านอกหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ (Non-Electronics items) 5%

-    ร้านค้าที่ไม่ได้อยู่ใน Shopee Mall เสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม 1%

-    ร้านค้าที่เป็น Lazmall จะต้องเสียค่าคอมมิชชัน 5%

-    ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน 3% + ค่าธรรมเนียมการใช้บริการมาร์เก็ตเพลส 1% ของราคาขาย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) ส่วน

ทั้งสองแพลตฟอร์มมีค่าธรรมเนียมในการขายสินค้าเหมือนกัน ร้านค้าบน Shopee ที่ขายสินค้าในหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์จะมีค่าธรรมเนียมเท่ากับร้านค้าบน Lazada ส่วนสินค้านอกหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ขายบน Lazada จะมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า

3.Marketing Tools ที่แพลตฟอร์มมีให้
 

Shopee

Lazada

-    มีเครื่องมือสำหรับทำ Marketplace ads tools เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาสินค้า

-    Shopee Affiliate Program เพื่อให้พาร์ทเนอร์มาร่วมช่วยโปรโมทดีลต่าง ๆ

-    มีโปรแกรมรีวอร์ดสำหรับลูกค้า

-    มีเครื่องมือวิเคราะห์ธุรกิจเชิงลึกของสินค้าแบบเรียลไทม์

-    มี Lazada University ออนไลน์ สอนเทคนิคการขายของออนไลน์ กลยุทธ์ในการตั้งราคาสินค้า การสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจ

-    มีเครื่องมือสำหรับทำ Marketplace ads tools เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาสินค้า

ทั้งสองแพลตฟอร์มมีเครื่องมือและฟังก์ชันทางการตลาดที่ร้านค้าสามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของร้านค้าได้เหมือนกัน
 

4.การได้สัญลักษณ์ Mall

Shopee

Lazada

-    สำหรับร้านค้าที่มีการจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทและเป็นเจ้าของแบรนด์ หรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ

-    ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 30,000 บาท ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

-    สำหรับร้านค้าที่เป็นเจ้าของแบรนด์ หรือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ขายสินค้าที่ถูกลิขสิทธิ์ 100%

-    ต้องรักษามาตรฐานการให้บริการที่กำหนดไว้

ร้านค้าบน Shopee ต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าค่อนข้างสูง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นไปด้วย ส่วนร้านค้าบน Lazada ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่ต้องมีคะแนนร้านค้าอย่างน้อย 70% อายุร้านค้าขั้นต่ำ 3 เดือน คำสั่งซื้อขั้นต่ำอย่างน้อย 30 คำสั่งซื้อต่อเดือน ฯลฯ ตามมาตรฐานการให้บริการที่กำหนดไว้
 

5.ระบบบริหารจัดการหลังบ้าน

ร้านค้าบน Shopee และ Lazada มีระบบบริหารจัดการหลังบ้านคล้าย ๆ กัน ทั้งในส่วนของการจัดการคำสั่งซื้อ การจัดการสินค้า การจัดการข้อมูลทางการตลาด การให้บริการลูกค้า บัญชีและข้อมูลการวิเคราะห์เชิงลึก ซึ่งทั้ง 2 แพลตฟอร์มได้ออกแบบระบบหลังบ้านมาเพื่อธุรกิจทุกระดับ ดังนั้นระบบจัดการหลังบ้านจึงอาจไม่ตรงใจผู้ใช้งานมากเท่าไหร่
 

ลูกค้าควรรู้ เปรียบเทียบ Shopee กับ Lazada ซื้อของที่ไหนดีกว่ากัน?

1.จำนวนร้านค้า

ร้านค้าบน Shopee มีผู้ขาย 1 ล้านรายและร้านค้าทางการ 1,500 แบรนด์ ส่วน Lazada มีผู้ขายหลายแสนราย มีสินค้าจัดส่งจากต่างประเทศและภายในประเทศให้เลือกซื้อ
 

2.ความปลอดภัย ระบบคืนเงิน

Shopee

Lazada

-    ผู้ซื้อสามารถกดขอคืนเงิน/ คืนสินค้าในระบบได้หลังจากสถานะการจัดส่งเป็น “การจัดส่งสำเร็จ” โดยคำสั่งซื้อต้องยังอยู่ในระยะเวลาการันตีและได้รับการยืนยันการคืนสินค้าจากร้านค้า

-    ส่วนเงื่อนไขการคืนเงินจะขึ้นอยู่กับช่องทางการคืนเงินว่าจะใช้ระยะเวลานานประมาณกี่วัน

-    ผู้ซื้อสามารถขอคืนเงิน/ คืนสินค้าได้ตามเงื่อนไขการคืนสินค้า โดยจะต้องเป็นสินค้าที่สามารถคืนได้ตามที่กำหนดไว้และต้องคืนภายในระยะเวลาตามที่กำหนด

-    หลังจากการส่งแบบฟอร์มการขอคืนสินค้าแล้ว ใช้เวลาในการดำเนินงาน 2 วัน

-    คืนเงินจะเกิดขึ้นหลังจากที่ร้านค้าทำการตรวจสอบคุณภาพสินค้าและอนุมัติการคืนสินค้า ยอดเงินจะปรากฏในบัญชีภายหลังขึ้นอยู่กับช่องทางการชำระเงิน

 

3.ราคา

ร้านค้าบน Shopee และ Lazada สินค้าที่วางจำหน่ายมีราคาใกล้เคียงกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้งานจะใช้คูปองส่วนลด หรือเหรียญแลก นอกจากนี้แฟลชเซลล์ โปรโมชั่น หรือแคมเปญต่าง ๆ ก็ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาถูกลงได้
 

4.ส่วนลดต่างๆ

Shopee

Lazada

-    Shopee Voucher ส่วนลดของ Shopee

-    Seller Voucher โค้ดของร้านค้า

-    Free Shipping Voucher ส่วนลดค่าจัดส่ง

-    Digital Product ส่วนลดสำหรับสินค้าดิจิทัล

-    ส่วนลด Lazada ที่ออกโดยพาร์ทเนอร์สำหรับการแลกคะแนน

-    ส่วนลดคูปองสะสมที่ออกโดย Lazada ร้านค้า ส่วนลดในการชำระเงินและส่วนลดในการจัดส่งสินค้า

ส่วนลด Voucher บน Shopee จะมีส่วนลดแบบเป็นเปอร์เซ็นต์ ลดตามจำนวนเงินและ Coin Cashback ส่วนส่วนลดบน Lazada จะมีส่วนลดคูปองจาก Lazada ที่ระบบจะเลือกส่วนลดที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า
 

สรุป

ถ้าถามว่าขายของ shopee กับ lazada อะไรดีกว่ากัน 2567? คำตอบก็คงขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากขายสินค้าประเภทไหน เพราะแต่ละ platform ก็จะมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป ชอปปี้อาจจะเหมาะกับสินค้าประเภทหนึ่ง ส่วนลาซาด้าก็เหมาะกับสินค้าอีกประเภทหนึ่ง แต่โดยภาพรวมแล้วการขายของออนไลน์ ยิ่งมีช่องทางการขายสินค้ามากเท่าไหร่ก็ถือว่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้แบบไม่จำกัดมากขึ้นเท่านั้น รวมทั้งเป็นการขยายฐานลูกค้าและเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้อีกด้วย

ส่วนระบบหลังบ้านของแต่ละแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน อาจเป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจที่ทำให้ผู้ขายเสียเวลาในการตั้งค่าระบบ ตรวจสอบสินค้า จำนวน ราคาและข้อมูลต่าง ๆ หากมีตัวช่วยอย่าง BigSeller ที่ช่วยให้การจัดการระบบหลังบ้านเป็นไปได้ง่ายขึ้นและสามารถเชื่อมต่อได้ทุกแพลตฟอร์มก็อาจช่วยให้ประหยัดเวลาได้เยอะและเอาเวลาเหล่านั้นไปพัฒนาร้านค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้