อัพเดต แม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ ขายของใน shopee เสียค่าอะไรบ้าง 2567
Khun BigT 18 ก.ย. 2024 08:13
อยากเปิดร้านขายของออนไลน์บน Shopee แต่ไม่รู้ว่าต้องเริ่มยังไง? ในรีวิวนี้ทีคำตอบครับ!! ผมได้รวบรวมทุกคำตอบที่แม่ค้ามือใหม่อย่างคุณอาจสงสัย พร้อมอัพเดต ขายของใน Shopee เสียค่าอะไรบ้าง 2567 อธิบายวิธีการลงทะเบียนพร้อมคู่มือการตกแต่งร้านค้าอย่างมืออาชีพ พลาดไม่ได้กับกลยุทธ์ที่ใช้บู๊ทส์ยอดขายแบบติดจรวด หนึ่งในเทคนิคสำคัญที่ช่วยปั้นธุรกิจให้สร้างกำไรในแบบที่ต้องการ
ทำไมควรขายของใน Shopee
ถ้าคุณกำลังมองหาโอกาสที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตอยู่ล่ะก็ Shopee ถือเป็นสุดยอดอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มที่หลายแบรนด์ดังทั่วโลกให้การยอมรับ ไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย หรือ เป็นกลุ่มธุรกิจน้องใหม่ ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมการขายบน Shopee จึงควรเป็นกลยุทธ์ถัดไปของคุณ
1. ฐานลูกค้าจำนวนมหาศาล พร้อมศักยภาพในการเติบโตสูงสุด
จากรายงานของ Business of App มีจำนวนผู้ใช้งานบน Shopee อยู่ราวๆ 295 ล้านบัญชี ครอบคลุมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ร้านค้าต่างๆ ก็สามารถเข้าถึงลูกค้าได้หลากหลายยิ่งขึ้น
2. ต้นทุนต่ำ
การเปิดร้านใน Shopee แทบไม่ต้องลงทุนด้วยเงินอะไรเลย ขอแค่ผู้ใช้งานสมัครและดำเนินการยืนยันตัวตนตามขั้นตอนให้ครบถ้วน กรอกข้อมูลและพัฒนาร้านให้ตรงตามมารตฐาน ที่สำคัญยังเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นในอัตราที่ต่ำอีกด้วย (คิดเป็น 3% ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
3. มีฟีเจอร์ที่เพิ่มความสามารถในการขาย
แพลตฟอร์ม Shopee ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน เหมาะกับพ่อค้าแม่ค้าทุก Gen มีคู่มือบอกวิธีการใช้ง านในทุก Step
4. จัดเต็มด้วยเครื่องมือทางการตลาดที่ทันสมัย
Shopee มีฟีเจอร์ทางการตลาดที่คุณสามารถเข้าถึงได้ฟรีๆ มีส่วนช่วยการเพิ่มการรับรู้ของกลุ่มลูกค้า รวมถึงการนำเสนอสินค้าที่ตรงจุด เช่น การยิงโฆษณา, บัตรกำนัลส่วนลด และข้อเสนอ Flash Sale ต่างๆ
5. นำเสนอข้อมูลเชิงลึกต่างๆ
ทางทีม Shopee ยังมีฟีเจอร์สุดเจ๋งที่คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบฟรีๆ เช่น ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมลูกค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของคุณ
Shopee มีข้อเสียอะไรบ้าง
ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee ได้เสนอข้อได้เปรียบที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด อย่างไรก้ตาม ก่อนตัดสินใจเปิดร้านบนช้อปปี้ ผมแนะนำให้พิจารณาข้อเสียหรือข้อจำกัดที่คุณมีโอกาสเจอบ่อยมากๆ ดังนี้
· สภาวะการแข่งขันที่สูง เพราะในตอนนี้ตลาดค่อนข้างอิ่มตัวและ Shopee นับวันก็จะมีแต่ผู้ขายที่เพิ่มจำนวนมากกว่าผู้ซื้อ!
· เริ่มปะทะด้วยสงครามราคา มากกว่าคุณภาพ
· การปรับแต่งหน้าร้าน หรือ ฟีเจอร์ต่างๆ ค่อนข้างจำกัด ไม่เหมือนกับหน้าเว็บไซต์ของคุณเอง
· Shopee อาจเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ตอนไหนเมื่อไหร่ก็ได้ เช่น ค่าธรรมเนียม เป็นต้น
· ภาพลักษณ์ของสินค้าลอกเลียนแบบที่อาจทำให้ยอดขายของคุณลดหายไป
· ความท้าทายในการจัดส่ง เช่น เงื่อนไขด้านราคา, ความแม่นยำ และบริการหลังการขาย
วิธีสมัครขายของบน Shopee
สำหรับใครที่สนใจอยากเปิดร้านขายสินค้าบน Shopee ในรีวิวนี้ผมได้รวบรวมวิธีการสมัครแบบ Step by Step ฉบับนักธุรกิจมือใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน เหมาะสุดๆ ถ้าคุณต้องการเพิ่มยอดขายและเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจเติบโตแบบติดปีก
1. ไปที่ Shopee Seller โดยดาวน์โหลดแอปฯ หรือ เข้าผ่านเว็บเบราวซ์ก็ได้
2. ลงทะเบียนผู้ใช้งาน หรือ เปิดบัญชีผ่าน Facebook/Google
3. ตั้งค่าหน้าร้านของคุณให้เรียบร้อย เช่น ตั้งชื่อร้านค้า, กรอกข้อมูลสินค้า, อัปโหลดรูปหรือวิดีโอ และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับร้าน เป็นต้น
4. ตั้งค่าบัญชีธนาคาร โดยให้เพิ่มบัญชี พร้อมใส่รายละเอียดให้ครบถ้วน เช่น ชื่อบัญชีที่ตรงกับหน้าสมุดบัญชีธนาคาร เป็นต้น
5. ตั้งค่าการจัดส่ง โดย Shopee จะมีแบบ Standard Delivery, EMS, Registered Mail รวมไปถึง Seller Own Fleet ที่ร้านค้าสามารถเลือกบริษัทขนส่งจากภายนอกได้
อัพเดตปี 2567 ขายของใน Shopee เสียค่าอะไรบ้าง
กระแสตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยยังเติบโตไม่หยุด หลายๆ แพลตฟอร์มต่างงัดกลยุทธ์เด็ดเพื่อมัดใจฐานลูกค้าและเอื้อสิทธิประโยชน์ให้กับร้านค้ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในปี 2567 นี้ก็เป็นอีกปีที่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมาย แล้วขายของใน shopee เสียค่าอะไรบ้าง?? ไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลยครับ
1. ค่าธรรมเนียมการขาย
ร้านค้าไม่เป็นทางการ (Non-Mall Sellers) จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเริ่มต้น 5% แต่ในกรณีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และแฟชั่นจะเสียที่ 7-8% ตามลำดับ ส่วนร้านค้าทางการ (Non-Mall Sellers) จะเสียค่าธรรมเนียมต่างกันไปตามหมวดหมู่ของสินค้า สูงสุดอยู่ที่ 10.70%
2. ค่าธรรมเนียมในการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตแบบผ่อนชำระคิดเป็น 4% สูงสุด 6% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยการผ่อนชำระสามารถเลือกได้นานสุด 10 เดือน
3. ค่าธรรมเนียมการชำระเงินปลายทาง
หากมีเลือกวิธีการชำระเงินแบบเรียกเก็บปลายทาง ผู้ขายต้องจ่ายค่าธรรมเนียมราวๆ 3% เมื่อสินค้าถูกจัดส่งถึงปลายทางแล้วสำเร็จ โดยจะคิดค่าธรรมเนียมจากค่าสินค้าที่รวมค่าขนส่งและการใช้ส่วนลดต่างๆ แล้ว
4. ค่าธรรมเนียมการชำระผ่านบัญชีธนาคาร
หากผู้ซื้อชำระเงินผ่านธนาคารโดยวิธีการชำระเงินที่ Shopee จัดให้ การคำนวณค่าธรรมเนียมจะถูกคิดเป็น 3% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ของยอดเงินที่ผู้ซื้อต้องชำระบวกค่าขนส่งสินค้า รวมถึงค่าส่วนลด และ Shopee Coin
5. ค่าธรรมเนียมการชำระผ่าน wallet ต่างๆ
ในกรณีที่ผู้ซื้อชำระเงินผ่านทาง E-Wallet ด้วยวิธีการตัดยอดเงินคงเหลือในบัญชี เช่น AirPay Wallet ทาง Shopee จะหักค่าธรรมเนียมตรงนี้ที่ 3% จากยอดเงินทั้งหมดต่อครั้ง
6. ค่าธรรมเนียมการชำระด้วย SpayLater
การชำระด้วย Special SPayLater เป็นแคมเปญที่ทางแพลตฟอร์มช่วยยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระของผู้ซื้อบน Shopee โดยผู้ขายจะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน Special SPayLater คิดเป็น 3% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สูงสุด 6% หากระยะการผ่อนถูกขยายไปจนถึง 6 เดือน
เมื่อไรที่แม่ค้าต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ Shopee
ขายของใน shopee เสียค่าอะไรบ้าง เมื่อไหร่ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียม? อีกหนึ่งคำถามยอดฮิตที่เหล่าแม่ค้าพ่อค้าถามกันเข้ามาเยอะที่สุด สำหรับการเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชั่นให้กับทาง Shopee โดยจำนวนเงินดังกล่าวจะถูกคิดจากยอดขายต่อครั้ง ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้ครับ
· หากธุรกิจของคุณไม่ใช้ร้านค้าทางการ (Non-Mall Sellers) คุณต้องชำระค่าธรรมเนียมเมื่อได้รับคำสั่งซื้อและสินค้านั้นๆ ถูกจัดส่งแล้วสำเร็จ โดยเรทค่าคอมฯ จะเริ่มต้นที่ 5%
· หากธุรกิจของคุณเป็นร้านค้าทางการ (Mall Sellers) ค่าธรรมเนียมการขายจะคิดเป็น 5 หรือ 8% (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เช่น 6% ในสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ แต่ทั้งหมดจะต้องคำนวณจากราคาขายตั้งต้นเท่านั้น
เคล็ดไม่ลับขายของออนไลน์ให้ปัง
เพิ่มยอดขายบน Shopee แบบติดจรวด ด้วยเทคนิคการจูงใจลูกค้าฉบับออร์แกนิค พบกับเทคนิคการขายออนไลน์ 4 ข้อที่แม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ การันตีธุรกิจปังไม่มีพังอย่างแน่นอน ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถาม BigSeller ได้ ซึ่งเป็นระบบจัดการร้านค้า สินค้า คำสั่งซื้อและสินค้าคงคลัง และสามารถสแกน QR โค้ดนี้เพื่อติดต่อทีมงานบริการลูกค้า
· สร้างแบรนด์ดิ้งให้ตัวเอง: บอกให้โลกรู้ว่าคุณเก่งด้านไหน ทำไมสินค้าของคุณถึงแตกต่างและดีกว่าของคู่แข่ง พยายามขายความสามารถของตัวเองควบคู่ไปกับสินค้า ค้นหาเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสร้าคอนเทนท์ที่น่าสนใจและกำลังเป็นกระแส
· ตอบแชตลูกค้าให้ไว: ตอบไวตอบเร็ว = น่าเชื่อถือ บางทีลูกค้าอาจมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลมากกว่าที่พิมพ์เอาไว้ ดังนั้นการอยู่ในโหมดออนไลน์ตลอดจะช่วยให้ลูกค้าไว้ใจ และยังเพิ่มโอกาสปิดดีลได้อีกด้วย
· ขยันร่วมแคมเปญการตลาดของ Shopee: เพราะแคทเปญเหล่านี้จะช่วยเพิ่มการมองเห็นหน้าร้าน และนำเสนอสินค้าของคุณสู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายแบบตรงจุด
· เลือกขนส่งที่ไว้ใจได้: ระบบการขนส่งที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง! เพราะไม่ว่าสินค้าจะปังแค่ไหน ถ้าการขนส่งบ้ง ล่าช้า แพงจนเกินไป อาจสร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีกับลูกค้าได้
สรุป
การขายของบน Shopee ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่พ่อค้าแม่ค้า “ต้อง” ศึกษาและรีบสร้างตัวตนในตลาดให้เร็วที่สุด เพราะจากจำนวนฐานผู้ใช้งานเกือบ 300 ล้านบัญชี พร้อมการสนับสนุนอย่างเต็มที่บน Shopee ผู้ขายสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับแบรนด์และสินค้า เข้าร่วมแคมเปญบนแพลตฟอร์มเพื่อสร้างการรับรู้ที่เติบโตได้เป็น 10 เท่า ซึ่งนอกจากข้อมูลการขายของใน shopee เสียค่าอะไรบ้าง? กลยุทธ์และเทคนิคทั้งหมดที่ได้อ่านไปจะช่วยให้ธุรกิจของคุณปั้นรายได้แบบไม่หยุด บู๊ทส์ธุรกิจให้เติบโตอย่างแน่นอน