How To ไม่ให้คำสั่งซื้อ Shopee หรือ Lazada ถูกยกเลิก(ผู้ขาย)
koi 26 พ.ค. 2022 08:30
พ่อค้าแม่ค้าที่ทำการค้าออนไลน์ โดยเฉพาะในช่องทางการขายบน Shopee และ Lazada อาจเคยเจอกรณีว่า ทำไมคำสั่งซื้อของตัวเองโดนยกเลิกหรือต้องยกเลิก ไม่ได้เพิ่มยอดขายร้านค้ากลับน้อยลง แล้วแม่ค้าต้องทำอย่างไรจึงจะหลีกเลี่ยงกรณีคำสั่งซื้อถูกยกเลิกได้ ในบทนี้จะเล่าให้ฟัง
ทำไมคำสั่งซื้อถูกยกเลิกจากระบบหรือผู้ขาย อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. จัดส่งล่าช้าและจัดส่งไม่สำเร็จ
เวลาผู้ขายได้รับคำสั่งซื้อแล้ว ไม่ได้จัดเตรียมการจัดส่งคำสั่งซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดของแพลตฟอร์ม Shopee หรือ Lazada เช่น แพ็คของไม่ทัน หรือปัจจัยอื่นๆทำให้คำสั่งซื้อจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ
2. จำวันที่จัดส่งผิด
สำหรับผู้ขายที่มีคำสั่งซื้อเป็นจำนวนมากที่ต้องจัดการ หรือธุรกิจยุ่ง อาจทำให้คำสั่งซื้อที่ไม่ได้จัดส่งในระยะเวลาที่กำหนดทันเวลา เนื่องจากจำวันที่จัดส่งผิดหรือไม่ได้ตรวจสอบให้ถูกต้อง
ผู้ขายไม่ได้เช็คจำนวนคลังสินค้าเป็นประจำ ทำให้ไม่รู้สต็อกจริงมีเท่าไรและอัพเดทสต็อกจริงกับหน้าร้าน พอมีคำสั่งซื้อเข้ามา ไม่มีสต็อกที่เพียงพอและไม่สามารถเติมสต็อกทันทีได้ ทำให้ผ่านเวลาจัดส่งแล้วคำสั่งซื้อจะถูกกยกเลิกโดยอัตโนมัติ
เวลาผู้ขายลงสินค้าแบบหลายๆรายการในขณะเดียวกัน พร้อมต้องแก้ไขข้อมูลสินค้าด้วย เช่น ชื่อสินค้า ราคา รายละเอียด รูปภาพ อาจทำให้ตั้งราคาผิดแบบไม่รู้ตัวก็ได้ เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามา แล้วเช็คดูยอดคำสั่งซื้อปรากฏว่าราคาสินค้าไม่ถูกต้อง จะทำให้ร้านค้าขาดทุนโดยต้องกดยกเลิกคำสั่งซื้อเอง
ผลกระทบของการยกเลิกคำสั่งซื้อ
เทคนิคการหลีกเลี่ยงคำสั่งซื้อถูกยกเลิก
เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ดี และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ดึงดูดลูกค้ากลับมาสั่งซื้อในร้านค้าอีก พ่อค้าแม่ค้าที่ขายของออนไลน์พลาดไม่ได้กับเทคนิคดังต่อไปนี้
โดยทั่วไปแล้ว คำสั่งซื้อของ Shopee หรือ Lazada ไม่ได้จัดส่งหลังจากวันที่ 4 นับจากวันที่ได้รับคำสั่งซื้อ คำสั่งซื้อดังกล่าวจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติในวันที่ 5 ดังนั้น ผู้ขายต้องเตรียมพร้อมให้ดีตามสถานการณ์ของตัวเอง เช่นแพ็คของให้เรียบร้อยก่อนที่ขนส่งมา Pick up หรือไป Drop off ส่งเองที่บริการขนส่งตามระยะเวลาที่กำหนด ต้องคำนึงถึงว่าก่อนที่จะจัดส่งสำเร็จ สิ่งที่ตัวเองอาจจะพบเจอ เราต้องจัดการให้ดีเพื่อไม่ให้คำสั่งซื้อถูกยกเลิกโดยระบบ
เราต้องเตรียมสต็อกที่เพียงพอสำหรับสินค้าที่ขายดีและที่ได้รับความนิยมในช่วงๆ โดยเฉพาะที่เข้าร่วมแคมเปญใหญ่ หรือโปรโมชั่นพิเศษ เช่น 6.6 9.9 11.11 เป็นต้น วางแผนว่าต้องเตรียมสต็อกสินค้าประมาณเท่าไรดีตามข้อมูลรายงานวิเคราะห์สินค้า นอกจากนี้หากสต็อกไม่พอ เราจะหา Supplier ได้จากที่ไหน และเจ้าไหนดี ขนส่งจะส่งมาทันให้กับตัวเองหรือไม่ โดยสิ่งเหล่านี้เราต้องคำนึงถึงและทำแผนล่วงหน้าไว้เพื่อหลีกเลี่ยงคำสั่งซื้อถูกยกเลิก
ผู้ขายสามารถทำ List ออกมาเพื่อเตือนตัวเองต้องจำได้ไปตรวจสอบคำสั่งซื้อที่ต้องจัดส่ง เพื่อป้องกันเพราะธุระอื่น ๆ แล้วลืมตรวจสอบวันที่จัดส่ง ทำให้เกินระยะเวลาจัดส่งแล้วโดนยกเลิกคำสั่งซื้อ อีกอย่าง List นี้ยังสามารถรวมถึงการตรวจสอบข้อมูลราคาของสินค้าเป็นประจำได้เพื่อเช็คดูว่าสินค้ามีการตั้งราคาผิดหรือไม่ การทำ List นี้สามารถทำเป็นอาทิตย์หรือเดือนก็ได้ แค่ช่วยเราจดจำไม่ให้ตัวเองพลาดสิ่งสำคัญได้ง่าย